ปฎิทิน

สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาว สิรันดา หมอโอสถ รหัส 4921236003
2. นาย นรินทร์ แก้วละลัย รหัส 4921236008
3. นาย พงศ์พันธุ์ สัตพงศ์พันธุ์ รหัส 4921342020

ลิงค์ไปเว็บ โปรแกรมพิมพ์รหัสบาร์โค้ด (Barcode Printing)

http://www.g2gnet.com/news/activenews_view.asp?articleID=58

สรุป ประโยชน์ของระบบสนับสนุนผู้บริหาร

ประโยชน์ของระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Benefits of ESS) ระบบสนับสนุนผู้บริหารมีประโยชน์ต่อผู้บริหารหลายประการ จึงทำให้แนวโน้มการใช้ระบบ ESS เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ ESS ได้แก่
  1. คุณค่าโดยส่วนใหญ่ของ ESS เกิดจากความยืดหยุ่น (Flexibility) ในระบบนี้สามารถใส่ข้อมูลและเครื่องมือ โดยอาศัยตัวผู้บริหารโดยปราศจากความยุ่งยากและปัญหา ผู้บริหารมีอินสระในการแก้ประเด็นปัญหาที่ต้องการ โดยใช้กระบวนการความคิด(Thinking process) ซึ่งไม่ใช่ระบบตัดสินใจแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ
  2. ประโยชน์ที่มองเห็นของ ESS ก็คือ ความสารถในการวิเคราะห์เปรียบเทียบและ
    กำหนดแนวโน้ม โดยการใช้รูปภาพทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้มากแต่ใช้เวลาน้อย ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจมากกว่าระบบที่ใช้กระดาษเป็นตัวสื่อสาร
  3. ผู้บริหารได้มีการใช้ ESS ในการติดตามผลงาน ซึ่งจะทำให้ประสบผลสำเร็จ ในการ
    หน้าที่ความรับผิดชอบบางครั้งก็มีการใช้ระบบนี้ในการติดตามงานหลัก โดยมีการจำแนกผลที่ได้ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
  4. ESS สามารถที่จะเปลี่ยนการทำงานในองค์การได้ เมื่อผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
    มาก จะทำให้การบริหารและการติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น จึงทำให้การรายงานและการตัดสินใจได้รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS

เป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้

ลักษณะของ ESS และความสำคัญ

ลักษณะของ ESS และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จของระบบเป็นอย่างไร
  1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
  3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
  4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
  5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
  6. มีระบบรักษาความปลอดภัย

ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูล

ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับระดับสูงมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

อธิบายความหมายของ ESS

ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วนอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน

ขั้นตอนสำหรับการกำหนดความต้องการของระบบ

  1. จำแนกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นให้เป็นชุดหรือเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ
  2. ล้วงเอาความจริง (Elicit) จากการประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อเป้าหมายของบริษัทหรือไม่ ถ้าหากมีผลกระทบต้องพยายามเปลี่ยนแผนเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  3. ล้วงเอาความจริงจากตัวดัชนี สามในห้าประการซึ่งถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาแต่ละประเด็น
  4. ค้นหาความจริงเกี่ยวกับศักยภาพของแหล่งสารสนเทศ ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดในการบริหารองค์การ
  5. ทดสอบทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดแนวทางว่าทางเลือกไหนดีที่สุด คือมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

ประเภทของการตัดสินใจของผู้บริหาร

ต้องขึ้นอับคณะกรรมการ บ่อยครั้งที่การตัดสินใจขึ้นกับวิสัยทัศน์แล้วทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ การขยายการบริหารต้องขึ้นอยู่กับทักษะในการวิเคราะห์ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ในปัจจุบันผู้บริหารสามารที่จะวางแผนได้ ลักษณะห้าประการของสารสนเทศถูกใช้ในการบริหารเพื่อการตัดสินใจได้แก่ (1) ขาดโครงสร้าง (Lack of structure) โดยส่วนใหญ่การตัดสินใจของผู้บริหารมักจะเกิดจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง เช่น ทิศทางของบริษัทที่ควรปฏิบัติ หรือรูปแบบการโฆษณาที่สนับสนุนการขายสินค้าใหม่ได้ดี (2) มีระดับความไม่แน่นอนสูง (High degree of uncertainty) งานผู้บริหารในขอบเขตของการตัดสินใจมักจะขึ้นอยู่กับลักษณะการขาดความแน่นอน เช่น การลงทุนธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง มักจะไม่มีความแน่นอนในการประกอบธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีการพยากรณ์โดยอาศัยตัวแบบในการจำลองเหตุการณ์ เพื่อให้ทราบแนวโน้มในการลงทุน (3) การเน้นที่อนาคต (Future orientation) การตัดสินใจแผนกลยุทธ์ถูกสร้างขึ้นเพื่อความแม่นยำในเหตุการณ์ ในอนาคตเนื่องจากเงื่อนไขเปลี่ยนไปทำให้องค์การเปลี่ยนไปด้วย ความรับผิดชอบของผู้บริหารจะต้องวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (4) แหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ (Informal sources) ผู้บริหารจะต้องรับรู้ข้อมูลจากคู่แข่งขันในลักษณะข้อมูลสารสนเทศอย่างไม่เป็นทางการ เช่น จากแห่งโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และลูกค้า ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกเก็บในฐานข้อมูลภายนอก เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ (5) ระดับรายละเอียดน้อย (Low level of detail) การตัดสินใจทางด้านบริหารมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ถูกทำขึ้นโดยสังเกตจากแนวโน้มความต้องการ ในการบริหารจะต้องรับรู้ถึงภาพรวมมากว่าต้องการรู้รายละเอียด ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้าง สามารถวางแผนหรือพยากรณ์ในอนาคตได้มากกว่าที่จะมารับรู้ในรายละเอียดทุกอย่างภายในองค์การ

ระบบสนับสนุนผู้บริหาร

ระบบสนับสนุนผู้บริหาร [Executive support system (ESS)] มีลักษณะคล้ายกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) และ GDSS ทั้งนี้เนื่องจาก DSS และ GDSS ใช้ในการจัดการกับปัญหาที่เป็นปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แต่ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS) จะใช้เฉพาะกับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ส่วนสำคัญ คือ ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องมาจากฐานข้อมูลภายนอก และภายในมารวมกัน และผู้บริหารสามารถที่จะใช้ข้อมูล ในการวิเคราะห์โอกาส อุปสรรค และแนวโน้ม กลุ่มของผู้บริหารในองค์การที่มีการใช้ ESS ได้แก่ ประธานและรองประธานฝ่ายต่าง ๆ



ความสำคัญของผู้บริหารต่อการพัฒนาระบบ ESS

ผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและจัดหาทรัพยากร เช่น บุคลากร สถานที่ รวมถึงการประสานงานต่างๆและ ช่วยผลักดันไห้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างราบรื่นได้

ลักษณะของระบบ ESS

  1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
  3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
  4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
  5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
  6. มีระบบรักษาความปลอดภัย

ESS (Executive Support System) คืออะไร

คือ ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ถูกออกแบบมาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งใช้ในการวางแผนกลยุทธหรือแผนการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร ระบบ ESS มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างจึงต้องเน้นที่ความอ่อนตัวในการทำงานและสนับสนุนการสื่อสารมากกว่าที่จะสร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะด้านเหมือนในระบบ MIS เท่านั้น ระบบ ESS ใช้ข้อมูลทั้งจากภายนอกองค์กร เช่นตารางการประกาศใช้กฎหมายใหม่ กำหนดการชำระภาษี หรือข้อความโฆษณาจากบริษัทคู่แข่ง และข้อมูลภายในองค์กร โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกกลั่นกรองข้อมูลและนำเสนอเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารระดับสูงซึ่งจะเน้นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ช่วยให้การนำเสนอมีความสะดวกและง่ายแก่การรับรู้มากที่สุดเช่น การใช้รูปภาพกราฟิก